เมนู

แต่เมื่อสิ่งของเป็นที่ชอบใจถึงแก่พวกภิกษุที่มิได้เป็นภาระของตน เปลี่ยน
สิ่งของนั้นเสีย ให้สิ่งของไม่เป็นที่ชอบใจไป ชื่อว่าลุโทสาคติ. เมื่อไม่รู้
วัตถุคือสิ่งของที่ควรจะแบ่งและหลักเกณฑ์ ชื่อว่าลุโมหาคติ. เปลี่ยนให้
สิ่งของที่ชอบใจแก่คนปากจัดหรือคนอาศัยพระราชาเป็นต้น เพราะกลัวว่า
เมื่อเราให้สิ่งของที่เป็นที่ชอบใจ คนพวกนี้จะพึงทำความพินาศให้ ชื่อว่า
ลุภยาคติ. แต่ผู้ใดไม่ดำเนินอย่างนี้ เป็นตราชูของตนทั้งปวง วางตน
เป็นกลาง มีความพอดี สิ่งใดถึงแก่ผู้ใด ก็ให้สิ่งนั้นแหละแก่ผู้นั้น ผู้นี้
ชื่อว่าไม่ลุอคติ 4 อย่าง. ส่วนในสถานวินิจฉัยอธิกรณ์ พึงทราบดังนี้
กล่าวครุกาบัติของภิกษุผู้เป็นภาระของตน ระบุว่าเป็นลหุกาบัติ ชื่อว่าลุ
ฉันทาคติ. กล่าวลหุกาบัติของภิกษุพวกอื่น ระบุว่าเป็นครุกาบัติ ชื่อว่า
ลุโทสาคติ. ไม่รู้การออกจากอาบัติและกองอาบัติ ชื่อว่าลุโมหาคติ. กล่าว
อาบัติหนักจริง ๆ ของภิกษุปากจัด หรือภิกษุที่พระราชาทั้งหลายบูชา
ระบุว่าเป็นอาบัติเบา เพราะกลัวว่า เมื่อเรากล่าวอาบัติ ระบุว่าเป็นอาบัติ
หนัก ภิกษุนี้จะพึงทำความพินาศให้ ชื่อว่าลุภยาคติ. แต่ผู้ใดกล่าวตาม
เป็นจริงทุกอย่างของคนทั้งปวง ชื่อว่าไม่ลุอคติทั้ง 4 อย่างแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ 5

สูตรที่ 6



ว่าด้วยบริษัทที่ดื้อด้าน และไม่ดื้อด้าน



[292] 46. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท 2 จำพวกนี้ 2 จำพวก
เป็นไฉน คือบริษัทที่ดื้อด้านได้รับการสอบถามแนะนำ 1 บริษัทที่ได้
รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่
ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรม